|
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
|
|
|
|
ชื่อสถานที่ |
: |
อนุสรณ์ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
|
|
ที่ตั้ง |
: |
ม.1 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ |
|
|
ข้อมูล |
: |
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ตำบลบุ่งน้ำเต้าเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ รวม 4 หมู่บ้าน คือ บ้านบุ่งน้ำเต้า บ้านน้ำหลุม บ้านห้วยคนทา และบ้านหมูบูด ขึ้นกับตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ รายล้อมรอบด้วยป่าไม้และภูเขา ต่อมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีความคิดย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ มาตั้งที่จังหวัด (มณฑล) เพชรบูรณ์
ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์เพราะพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้นล้อมรอบด้วยป่าเขาสามารถป้องกันการรุกรานของ ศัตรู ได้จึงได้มีคำสั่งให้จัดสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามประเพณีโบราณนั้นการสร้างเมืองมีการสร้างหลักเมืองก่อน เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น ในบ้านเมือง ท่านจึงได้เดินทางมาจังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อหาสถานที่สร้างหลักเมือง ก็ได้เลือกเอาบริเวณบ้านบุ่งน้ำเต้า เป็นบริเวณสร้างศาลหลักเมือง
หมู่ 1 และหมู่ 6 ในปัจจุบัน บ้านหมูบูด ซึ่งได้เป็นชื่อเรียกหมู่บ้านดั้งเดิมนั้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านธารทิพย์ อันสืบเนื่องจากทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีลำธาร 2 สาย คือ คลองน้ำคล้า และคลองน้ำเค็ม อันเป็นลำธารสายหลักที่มีน้ำไหลตลอดปี และเป็นสายธารเลี้ยงชีพของเกษตรกรมาโดยตลอด จึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านหมูบูดมาเป็นบ้านธารทิพย์ อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่บ้านนั่นเอง ครั้งแรกที่แยกตำบลเป็นตำบลบุ่งน้ำเต้านั้น มีหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านบุ่งน้ำเต้า หมู่ 2 บ้านธารทิพย์ ซึ่งรวมถึงบ้านถ้ำสมบัติด้วย หมู่ 3 บ้านธารทิพย์ หมู่ 4 บ้านห้วยคนทา เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้น
จึงได้ทำการแยกหมู่บ้านเพิ่มดังนี้ คือ หมู่ 5 บ้านธารทิพย์ แยกจากหมู่ 3 บ้านธารทิพย์ หมู่ 6 บ้านบุ่งน้ำเต้า แยกจากหมู่ 1 บ้านบุ่งน้ำเต้า หมู่ 7 บ้านธารทิพย์ แยกจากหมู่ที่ 2 บ้านธารทิพย์ หมู่ที่ 8 บ้านถ้ำสมบัติ แยกจากหมู่ 2 บ้านธารทิพย์ หมู่ 9 บ้านห้วยคนทา แยกจาก หมู่ 4 บ้านห้วยคนทา หมู่ 10 บ้านธารทิพย์ แยกจากหมู่ 7 บ้านธารทิพย์ และหมู่ 11 บ้านธารทิพย์ แยกจากหมู่ 3 บ้านธารทิพย์ เป็นหมู่บ้านสุดท้าย ปัจจุบันรวมเป็น 11 หมู่บ้าน
การมาตั้งเมืองหลวงของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีผลต่อชาวตำบลบุ่งน้ำเต้ามากเนื่องจากครั้งนั้น มีการอพยพเอาข้าราชการบริพารในเมืองหลวงมาอยู่ที่บ้านถ้ำสมบัติ (บ้านน้ำหลุมเดิม) มีการนัดเอาราษฎรจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นคนงานขุดถนน สร้างค่ายทหารมากมาย ราษฎรในหมู่บ้าน ตำบลบุ่งน้ำเต้า ได้รับอิทธิพลส่วนนี้ด้วย มีการไปค้าขายไปรับจ้างที่บ้านถ้ำสมบัติ จนมีผู้แต่งเพลงขึ้นมาร้องบรรยายว่า ถ้าวันใดไม่ได้ไปบ้านน้ำหลุมวันนั้นก็มีแต่ความคิดถึง เพราะที่นั้นมีแต่ความสนุก รื่นเริง มีอาหารสมบูรณ์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อสงครามสงบ มีการอพยพผู้คนกลับหมดแต่ชาวบ้านก็ยังมีความผูกพันกับบ้านน้ำหลุมแต่นั้นมา
วันที่ 23 เมษายน 2487 ช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทางราชการได้อพยพข้าราชบริพารเชื้อพระวงศ์มาประทับที่จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมทั้งได้นำทรัพย์สินต่างๆ มาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามด้วย สถานที่ที่นำเชื้อพระวงศ์และทรัพย์สินต่างๆ มาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามด้วย สถานที่ที่นำเชื้อพระวงศ์และทรัพย์สินมาอยู่ คือ บริเวณถ้ำสมบัติ หรือบ้านน้ำหลุมเดิม ( หมู่ที่ 8 ของตำบลบุ่งน้ำเต้าในปัจจุบัน ) บริเวณถ้ำมีการสร้างป้อมปราการที่แข็งแรง มีกองทหาร ค่ายทหารคุ้มกัน ช่วงนั้นมีการจ้างราษฎรบริเวณบ้านหมูบูด และราษฎรทางภาคอีสาน ตัดไม้สร้างที่พัก สร้างค่ายทหาร ทำถนน ชาวบ้านบริเวณนั้นจึงเรียกถ้ำนั้นว่า ถ้ำสมบัติ เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์อีกต่อไป แต่เข้าของความเจริญจากการวางรากฐานของเมืองหลวงประกอบกับราษฎรมาอาศัยมากขึ้นจึงได้มีการประกาศให้แยกเป็นตำบลใหม่ให้ชื่อว่า ตำบลบุ่งน้ำเต้า เหตุที่ได้ชื่อว่าตำบลบุ่งน้ำเต้า เพราะว่าบริเวณบ้านบุ่งน้ำเต้าเดิม มีหนองน้ำแห่งหนึ่ง ชาวบ้านเรียก หนองน้ำตามภาษาที่ชาวบ้านพื้นเมืองเรียกว่า “บุ่ง” บริเวณบุ่งนี้มีน้ำเต้าดินมากมาย ซึ่งจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง เด็ก ๆ มักขุดมาเล่นกัน และได้นำมาประกอบยาสมุนไพรรักษาโรคบางอย่างได้ จึงมีการเรียกสถานที่ดังกล่าวว่า บุ่งน้ำเต้า ได้เป็นชื่อของตำบลและหมู่บ้าน
|
|
|
รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว
|
|
ผู้เข้าชม 151 ท่าน |
|